Tag Archives: พระนครศรีอยุธยา

โบราณสถานและเจดีย์แบบลาว ลุ่มน้ำป่าสัก วัดพระนอน นครหลวง อยุธยา

วันนี้จะพาไปเที่ยววัดพระนอน อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้มีพื้นที่อยู่ทั้งสองฟากถนน ฝั่งหนึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารโบราณสถานร้าง อีกฟากหนึ่งจะเป็นสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งผมแวะเข้าไปด้วยความบังเอิญ และได้พบกับโบราณสถานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ได้แก่ อาคารร้างรวมถึงซากโบราณวัตถุหลายชิ้น และเจดีย์โบราณแบบลาว เป็นอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงชุมชนลาวที่เข้ามาอาศัยแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักตั้งแต่ครั้งอดีต เจดีย์โบราณซึ่งตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของโบราณสถานร้าง วัดพระนอน เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก จากรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเจดีย์แบบลาว ซึ่งมีความคล้ายกับพระธาตุดำ ในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในสมัยกรุงธนบุรี เกิดความขัดแย้งในอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์คุมกองกำลังไปยึดนครเวียงจันทน์และกวาดต้อนชาวลาวนับหมื่นเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก และในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการยกกองกำลังขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนจนประสบความสำเร็จ และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 ก็มีศึกกับนครเวียงจันทน์และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราจึงอาจจะได้พบเห็นอัตลักษณ์รูปแบบสถาปัตยกรรมของลาวในวัดแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง เช่น วัดใหญ่เทพนิมิตร เป็นต้น ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

ทำไมมีต้นพุทรามากมาย ในเขตวังหลวงโบราณ อยุธยา ?

https://youtu.be/1YjljPrBEsY ทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตพระราชวังหลวง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหลายคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นความเข้าใจผิดของหลายคนด้วยเช่นกัน ผมได้ลองค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ คือสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กล่าวว่า ต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา เริ่มปลูกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาโบราณราชธานินทร์ใช้เป็นกุศโลบายให้ประชาชนนำไปรับประทานได้ และช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลโบราณสถาน ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจอายุต้นพุทราเมื่อปี พ.ศ.2562 ว่าต้นพุทราที่เก่าแก่ที่สุด อยู่ในเขตพระราชวังหลวงอยุธยา มีอายุราว 140 ปี ซึ่งจะตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง และต้นพุทราในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2562 อีกด้วย และอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ ที่บอกกล่าวเล่าเรื่องไว้โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ได้เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษในโครงการอบรมมัคคุเทศก์ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มานานหลายสิบปี โดยให้คำบรรยายและอบรมในระหว่างการท่องเที่ยวนำชมในเขตโบราณสถาน มักจะเกิดคำถามบ่อยครั้งเมื่อเดินเข้าในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ พระนครศรีอยุธยา ว่าทำไมมีต้นพุทราจำนวนมากมายในเขตนี้?  และคำตอบจากมัคคุเทศก์ที่ได้ยินคือ กล่าวว่า ทัพพม่าได้ขนเสบียงเป็นพุทรามาเมื่อครั้งสงครามตีกรุงศรีอยุธยาจนแตก จึงได้ทิ้งเมล็ดพุทราไว้จำนวนมาก จนเกิดต้นพุทรามากมายในปัจจุบัน ซึ่งคำตอบดังกล่าวเป็นที่เฮฮา สนุกสนานของผู้เดินทางท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ตรงตามประวัติศาสตร์การบันทึก ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เล่าต่อว่า ได้บังเอิญไปค้นหาข้อมูลในวารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และได้ไปพบกับคอลัมน์และภาพถ่าย ที่เขียนและถ่ายภาพโดยคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนแห่งสยามรัฐ(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538) ซึ่งน่าจะเป็นฉบับในราวปี พ.ศ. 2505 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต้นพุทราในเขตพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา ในวารสาร คุณรงค์ได้เขียนว่า ต้นพุทราในพระราชวังหลวงถูกปลูกขึ้นมาก่อนปี พ.ศ.2500 นานหลายปี… Read More »

กราบหลวงพ่อเพิ่ม อัตตทีโป วัดป้อมแก้ว พระเกจิ พระนครศรีอยุธยา

https://youtu.be/I-GQJbBQhhk https://youtu.be/8Jz_y8q5QdM สำหรับวันนี้ผมจะพาเดินทางไปกราบนมัสการพระเกจิดังของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกรูปหนึ่ง ก็คือหลวงพ่อเพิ่ม อัตตทีโป เจ้าอาวาสวัดป้อมแก้ว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แม้ปัจจุบันท่านจะมีอายุเกือบ 90 ปีแล้ว แต่ท่านก็ยังมีสุขภาพที่แข็งแรง อีกทั้งวันไหนที่ท่านไม่ได้มีกิจนิมนต์ ท่านก็จะนั่งอยู่ที่วัดคอยต้อนรับญาติโยมอยู่เป็นประจำ การเดินทางไปวัดป้อมแก้ว ต้องบอกว่าแสนสะดวกโยธิน ซะนี่กระไร… สำหรับผม วันนี้เป็นการเดินทางไปวัดป้อมแก้วเป็นครั้งแรก ก็ถือว่าสะดวกมากๆเลยครับ ถนนหนทางรถวิ่งได้สะดวก การเดินทางให้มาตามเส้นไปอำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขับเลยแยกวรเชษฐ์ จะมองเห็นวัดวรเชษฐ์ทางฝั่งซ้าย แล้วขับตรงไปอีกราวๆ ไม่เกิน 10 กิโลเมตร จะมองเห็นป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายไปวัดป้อมแก้ว ส่วนฝั่งตรงข้ามจะเป็นทางเลี้ยวไปวัดพระขาวซึ่งมีป้ายขนาดใหญ่ชัดเจนเช่นกัน สำหรับท่านที่เดินทางไปครั้งแรก ก็ไม่ต้องขับรถเร็วนะครับ เพื่อจะได้มองเห็นป้ายได้สะดวก ถ้ามาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ให้ขับชิดเลนซ้ายไปเรื่อยๆ ชมบรรยากาศไปด้วย เมื่อเลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าไปวัดป้อมแก้วแล้ว ขับไปอีกราวๆ ไม่น่าเกิน 3 กิโลเมตร จะมีป้ายซุ้มทางเข้าวัดด้านซ้ายชัดเจน แล้วก็เลี้ยวเข้าไปเลย ก็จะถึงพื้นที่วัดแล้วหล่ะครับ บรรยากาศภายในวัดป้อมแก้ว พอเข้ามาถึงพื้นที่วัด จะมองเห็นศาลาการเปรียญขนาดใหญ่มาก สวยงาม ลักษณะเป็นแบบ 2 ชั้น ด้านล่างเป็นปูน ส่วนชั้นบนเป็นอาคารไม้ทั้งหลังเรือนไทยสวยงาม ถ้าเดินทางไปถึงช่วงบ่ายหรือเที่ยง จะเห็นเบื้องหลังเป็นท้องฟ้าสีครามสวยงามมาก พื้นที่วัดค่อนข้างกว้างขวาง แต่ที่จอดรถหาที่ร่มยาก จึงขับรถไปที่หน้าอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม จะพอมีร่มไม้อยู่บ้างและจอดรถที่บริเวณนี้ เมื่อเดินตรงเข้าไปผ่านร่มไม้ตรงนี้ จะเป็นอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นจุดที่มีการให้บูชาวัตถุมงคล รวมถึงเป็นสถานที่ ที่หลวงพ่อเพิ่มจะมานั่งคอยต้อนรับญาติโยมที่มาวัดป้อมแก้ว ผมเดินทางไปถึงหลังเที่ยงเล็กน้อย จึงเดินเข้าไปดูวัตถุมงคลต่างๆ ที่ยังมีเหลือให้บูชา และก็ทำการบูชามา… Read More »

กราบนมัสการหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา

https://youtu.be/4WoXn4L5BMI กราบนมัสการหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา วันหยุดสุดสัปดาห์อีกครั้ง ผมได้วางแผนเดินทางไปยังวัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา เหตุเพราะเป็นวัดที่หลวงพ่อปาน โสนันโท เคยจำพรรษาก่อนที่จะมรณภาพ ซึ่งหลวงพ่อปานท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ด้วยปฏิปทาของหลวงพ่อปาน ตลอดชีวิตของท่านได้ดำเนินรอยตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด จึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนเสมอมา แม่ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ความดีและคำสอนต่างๆของท่าน ยังเป็นที่เล่าขานมาจนถึงทุกวันนี้ ก่อนหน้านี้ผมได้อ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน โสนันโท เกี่ยวกับการเดินทางธุดงค์ไปยังสระบุรี เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธฉาย ที่สระบุรี ซึ่งเรื่องราวค่อนข้างอัศจรรย์หลายๆประการ ทำให้ผมต้องเดินทางไปทั้ง 2 สถานที่อีกครั้งหนึ่ง เพราะเกิดความเลื่อมใสเป็นทวีคูณ หลังจากที่ผมได้เดินทางไปสถานที่ข้างต้นแล้ว จึงได้ตั้งใจไว้ว่าจะเดินทางไปยังวัดบางนมโค เพื่อไปกราบนมัสการหลวงพ่อปาน แม้ว่าปัจจุบันท่านจะมรณภาพไปแล้วก็ตาม สถานที่ตั้งของวัดบางนมโค จะอยู่ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเดินทางค่อนข้างง่าย และสะดวก โดยให้เดินทางมายังอำเภอเสนา จะผ่านโลตัส และปั้มน้ำมัน ปตท. และบางจาก ทางเข้าของวัดจะใกล้เคียงกับปั้มน้ำมันบางจาก จะเห็นป้ายขนาดใหญ่ชัดเจนฝั่งขวามือ ผมใช้เวลาเดินทางไม่นานนักก็มาแวะเข้าปั้มน้ำมันหากาแฟดื่มเล็กน้อย ก่อนที่จะไปวัดบางนมโคซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน หลังจากเลี้ยงเข้ามาตามเส้นทางตามป้ายบอกทาง ผมก็ได้หาที่จอดรถซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางดีครับ บริเวณหน้าวัดจะมีต้นไม้ขนาดใหญ่ และมีการสร้างศาลเจ้าที่ไว้ด้วย รวมทั้งเครื่องสักการะต่างๆ ที่ชาวบ้านและผู้ที่มีความเชื่อนำมาถวาย มีเรื่องเล่าว่าต้นไม้ต้นนี้เคยจะถูกตะดออก แต่มีหญิงคนหนึ่งมาเข้าฝันหลวงพ่อปานไม่อยากให้ตัดเพราะจะไม่มีที่อยู่ ทางวัดจึงไม่ได้ตัดออกจนทุกวันนี้ เมื่อผมจอดรถเรียบร้อยแล้วผมก็ตรงดิ่งมายังมณฑปหลวงพ่อปานเป็นอันดับแรก ด้านหน้ามณฑปหลวงพ่อปานจะประดิษฐานพระพุทธโสนันทะ องค์จำลอง ที่ให้พุทธศาสนิกชนสามารถปิดทองบูชาได้ ก่อนที่ผมจะเข้าไปยังพระมณฑปหลวงพ่อปาน ผมก็ได้ทำการจุดธูปเทียน บูชาพระด้านหน้า และปิดทององค์พระก่อน เมื่อเข้ามาด้านในพระมณฑปหลวงพ่อปาน จะมีรูปหล่อหลวงพ่อปานประดิษฐานอยู่ ซึ่งสามารถที่จะปิดทองบูชาได้ ผมได้ทำการปิดทองบูชาหลวงพ่อปาน และสังเกตุที่องค์พระ จะเห็นถึงความหนาของแผ่นทองคำเปลวอย่างเห็นได้ชัด… Read More »

วัดขุนตานาค อำเภออุทัย วัดร้างนอกเกาะเมืองอยุธยา ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแล

วัดขุนตานาค อำเภออุทัย วัดร้างนอกเกาะเมืองอยุธยา ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแล https://youtu.be/VUXi5oskhcg วัดขุนตานาค อำเภออุทัย วัดร้างนอกเกาะเมืองอยุธยา ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแล สวัสดีครับ ครั้งนี้ผมมีโอกาสอีกครั้งที่จะเดินทางไปสำรวจพื้นที่วัดร้างอีก 1 แห่ง ซึ่งข้อมูลนี้ผมได้ทราบจากน้องท่านหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากข้อมูลเบื้องต้นนั้นจะต้องข้ามคลองเข้าไปยังพื้นที่วัด ถ้าจะเดินกันเข้ามาก็คงจะลำบากเพราะไม่ทราบว่าจะต้องเดินเข้ามาจากทางไหน เพราะโดยรอบพื้นที่นั้นล้อมรอบไปด้วยพื้นที่นาของชาวบ้าน และที่สำคัญคือช่วงที่ผมเดินทางไปนั้น เป็นช่วงที่กำลังสูบน้ำเข้านากันด้วย เพราะฉะนั้นแล้วทางสะดวกที่สุดคือนั่งเรือข้ามคลองนี่แหละครับ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของพื้นที่นี้คือ ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการพยายามที่จะบูรณะสถานที่แห่งนี้ขึ้นมา ไม่ได้ล่วงล้ำพื้นที่เขตที่เป็นสถานที่ตั้งวัดเดิม อีกทั้งได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างพระพุทธรูป โดยการพอกปูนทับเศษซากพระพุทธรูปเดิมขึ้นมาอีกครั้ง เป็นสิ่งที่ดีและน่าภูมิใจมากๆเลยครับ ที่ชาวบ้านมีน้ำใจกันขนาดนี้ พื้นที่วัดขุนตานาค เป็นวัดร้าง ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางจะผ่านสถานีตำรวจภูธรอุทัย และผ่านโรงเรียนอุทัย เข้ามาเล็กน้อย เส้นทางเล็กๆ ถ้าเดินทางด้วยจักรยานยนต์จะสะดวกกว่า แต่ทั้งนี้ถ้าจะลุยเดี่ยวไปคนเดียวผมไม่ขอแนะนำนะครับ เพราะว่าสุนัขเจ้าถิ่นเยอะเหลือเกิน ซึ่งมีจำนวนมากตลอดเส้นทางเลยครับ เป็นสุนัขของชาวบ้านนั่นแหละครับ คอยเห่าหอนได้ตลอดเวลา และเห่าหอนไม่หยุดซะด้วยสิครับ นอกจากเรื่องสุนัขแล้ว จะต้องนั่งเรือข้ามคลอง ถ้าไม่รู้จักชาวบ้านแถวนั้นก็ไปลำบากแล้วหล่ะครับ เพราะต้องอาศัยเรือของคนพื้นที่ ครั้งนี้ผมก็มากับน้องที่รู้จัก โดยมีเพื่อนในพื้นที่อาสาพาไปด้วย เลยเป็นโอกาสที่ดีครับ เรานัดกันเวลาประมาณ 7 โมงครึ่ง มาเจอกันที่ สน.อุทัย และก็ตรงเวลาเป๊ะครับ เราเดินทางมาถึงและก็เดินทางเข้ามาหาผู้นำทาง บรรยากาศในพื้นที่ช่วงนี้เย็นๆสบายดีมากครับ และโดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน ดูสงบดีจริงๆ จากนั้นเราก็เดินทางไปยังพื้นที่เป้าหมายของเราเลยครับ สำหรับประวัติเบื้องต้นนั้น ไม่ทราบเลยครับ คงจะเป็นพื้นที่วัดราษฏร์ทั่วไป ที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วหล่ะครับ ผมข้ามฝั่งมาเป็นคนแรก โดยมีพี่ซึ่งเป็นคนในพื้นที่นำทางและพายเรือข้ามฟากให้ ผมรู้จักพี่เขาวันแรก แต่อัธยาศัยดีมากๆ ผมนี่เกรงใจมากเลยครับ… Read More »

วัดพระนอน พระนอนเก่าแก่สมัยอยุธยา อายุกว่า 600 ปี

บทความนี้ผมจะพาเดินทางไปชมวัดร้างอีกแห่งหนึ่ง ที่แต่เดิมนั้น ยังไม่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร เพิ่งจะได้รับการปรับแต่งพื้นที่ได้ไม่นานนี้เองครับ นั่นก็คือวัดพระนอน หรือ บางคนเรียกว่า วัดโคกพระนอน การที่เรียกว่าวัดพระนอนนั้น จะมีจุดเด่นสำคัญอย่างหนึ่งคือ จะมีพระนอนขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมไปอย่างมาก จะมองเห็นได้เพียงรูปทรงว่าเป็นพระนอนขนาดใหญ่ โดยทางกรมศิลปากรได้นำชิ้นส่วนต่างๆขององค์พระมาประกอบกันไว้ คงจะอีกสักระยะที่จะมีการบูรณะให้ดูมั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น การเดินทางจากเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์วงเวียน) ผ่านมายังวัดใหญ่ชัยมงคล แล้วเลี้ยงซ้ายเมื่อถึงโค้งแรกให้สังเกตุซอยทางเข้าหอพัก แล้วกลับรถเข้าซอยครับ บริเวณนี้จะมีวัดร้างที่ได้รับการบูรณะไปจำนวนถึง 3 วัด ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน คือ วัดชุมพล วัดประโดก และวัดพระนอนที่ผมกำลังจะพาไปชมนี่แหละครับ สภาพพิ้นที่วัดพระนอนปัจจุบัน (24 มกราคม 2558) ได้รับการบูรณะอย่างชัดเจน มีป้ายบอกชื่อวัด และมีการปรับพื้นที่ ทำให้มองเห็นสภาพของโบราณสถานได้ดียิ่งขึ้น พื้นที่โดยรอบของวัดรพระนอน จะมีเพียงโคกอิฐของฐานเจดีย์ ที่ยังมองเห็นอยู่ในปัจจุบัน ทีมนักเดินทางที่ไปด้วยกัน ได้เข้าไปสำรวจดูองค์พระ และบอกว่าสภาพขององค์พระมีการแตกร้าวบริเวณพระพักตร์ ทำให้เห็นรอยการบูรณะมาหลายสมัย ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา และถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ประวัติจากการสันนิษฐาน จากข้อมูลแหล่งข่าว มีรายละเอียดว่า นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า วัดโคกพระนอนแห่งนี้อายุกว่า 600 ปี มีเนื้อที่ 2 ไร่ สร้างในสมัยอยุธยาช่วง พ.ศ.1901 ถึง พ.ศ. 2000 บูรณะต่อเนื่องหลายสมัยแต่ไม่พบบันทึกประวัติการสร้าง จากการสำรวจเบื้องต้นที่เคยทำประวัติไว้ โดยภายในวัดจะมีวิหารขนาดใหญ่ คลุมองค์พระนอนองค์ใหญ่ ลักษณะปูนปั้น มีความยาวประมาณ… Read More »