Tag Archives: ทวารวดี

ประติมากรรมพระพุทธเจ้าถือไม้เท้า ถ้ำยายจูงหลาน ทวารวดีที่เพชรบุรี

  ระหว่างทางขับรถกลับเข้ากรุงเทพฯ ผ่าน จ.เพชรบุรี จึงตั้งใจจะแวะที่วัดถ้ำรงค์ เพื่อสักการะและชมประติมากรรมผนังถ้ำโบราณ แต่ได้เลี้ยวรถผิดทาง ได้มาพบกับวัดถ้ำเขาน้อยเกสโร ซึ่งมีเขาหินปูนอยู่ภายในวัด ก็เลยคิดว่าจะต้องมีถ้ำตามชื่อวัด จึงได้เข้าไปถามน้องที่ช่วยงานในวัด จึงได้ทราบว่า ใกล้กับทางเข้าวัดจะมีช่องถ้ำเล็กๆ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ถ้ำยายจูงหลาน” ปรากฏภาพประติมากรรมนูนต่ำร่วมสมัยทวารวดีเลยทีเดียวครับ ข้อมูลจากรมศิลปากร เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “โบราณสถานถ้ำเขาน้อย” แต่ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักกันในชื่อ “ถ้ำยายจูงหลาน” ลักษณะปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วย 2 คูหา คูหาแรก มีขนาดใหญ่คนลงไปได้ และแสงสว่างส่องถึง มีความกว้าง 3.5 เมตร สูง 4.4 เมตร และลึกเข้าไป 7.5 เมตร ปัจจุบันพื้นถ้ำปกคลุมด้วยดินที่ทับถมกันหนา และคูหาที่สอง มีขนาดเล็กเป็นช่องเข้าไป ปากถ้ำกว้าง 1.5 เมตร สูง 1.4 เมตร และลึกเข้าไป 4.5 เมตร ข้อมูลจากกรมศิลปากรเมื่อครั้งสำรวจ เมื่อปี 2547 พบชิ้นส่วนอิฐเนื้อหยาบ เห็นเม็ดแกลบชัดเจน ความโดดเด่นที่ยังปรากฏในปัจจุบันคือ มีภาพประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำประดับผนังถ้ำ รูปพระพุทธเจ้า เทพพนม และรูปบุคคล 2 คน คนหนึ่งมีความสูงกว่า ลักษณะจูงแขน จึงเป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำยายจูงหลาน” และมีเรื่องเล่าชาวบ้านว่า ช่วงใกล้รุ่ง เห็นยายจูงหลานเดินออกมาใส่บาตร ประติมากรรมนี้มีความแปลกที่ไม่ค่อยได้เห็นกันนัก เพราะเป็นรูปพระพุทธเจ้าถือไม้เท้า… Read More »

เมืองโบราณเมืองไผ่ ทวารวดีสุดขอบตะวันออก สระแก้ว

ผมได้วางแผนเดินทางไปท่องเที่ยวโบราณสถานที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม แต่ระหว่างทางได้สังเกตเห็นแผนที่บน Google Map มีลักษณะคล้ายเมืองโบราณทวารวดี มีลักษณะคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทราบชื่อว่า “เมืองไผ่” และปรากฏร่องรอยโบราณสถานกลางเมือง ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นปราสาท ผมจึงได้ตัดสินใจแวะไปชม ซึ่งเส้นทางมีความสะดวก เป็นถนนคอนกรีตเข้าสู่ชุมชนไปตลอดทาง เมืองโบราณแห่งนี้ตามข้อมูลว่าเป็นเมืองโบราณทวารวดีสุดขอบตะวันออกของไทยเลยทีเดียว พบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จนกระทั่งรับวัฒนธรรมทวารวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จนไปถึงยุคขอม เมืองโบราณเมืองไผ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านเมืองไผ่ ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นเมืองโบราณทวารวดีสุดขอบทิศตะวันออกของไทย สันนิษฐานว่ามีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมตั้งแต่ช่วงต้นทวารวดีพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ลักษณะสัณฐานเมืองโบราณคล้ายวงรี รูปไข่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีลำห้วยไหลผ่าน คล้ายเป็นการแบ่งเมืองชั้นนอกและเมืองชั้นใน โดยภายในเมืองชั้นใน ปรากฏร่องรอยโบราณสถาน เรียกกันว่า “ปราสาทเมืองไผ่” สาเหตุชื่อเมืองไผ่ เพราะบริเวณคูเมืองมีก่อไผ่เกิดขึ้นจำนวนมาก กรมศิลปากรได้เข้าสำรวจเบื้องต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 พบโบราณสถาน ต่างๆ ได้แก่ ปราสาทเมืองไผ่ เนินโบราณสถานนอกเมือง คูเมือง สระน้ำโบราณหรือบาราย ปราสาทเมืองไผ่ เป็นอาคารก่ออิฐ ส่วนฐานเป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ บริเวณผนังแกะสลักลวดลายต่างๆ เช่น หน้าบุคคล มีกำแพงแก้วล้อม 2 ชั้น และพบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น เทวรูปยืนถือกระบองศิลปะแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ธรรมจักรสมัยทวารวดี และจารึกอักษรปัลวะ ปราสาทเมืองไผ่ รายล้อมไปด้วยชุมชนในยุคปัจจุบัน ซึ่งทางชุมชนมีความคาดหวังที่จะทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง… Read More »

เมืองโบราณพันปี ที่ถนนสายเอเชียตัดผ่าน เมืองโคกไม้เดน นครสวรรค์

สวัสดีครับผมได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวโบราณสถานแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ ผมจึงได้ลองหาข้อมูลบน Google Map พบว่ามีสถานที่ในเขต อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีร่องรอยของเมืองโบราณ ร่วมสมัยทวารวดี เก่าแก่กว่าพันปี มีชื่อว่า “เมืองโบราณโคกไม้เดน”  จากการดูแผนที่บน Google Earth พบว่า เมืองโบราณโคกไม้เดนมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีถนนหมายเลข 1 หรือถนนสายเอเชียตัดผ่านทำให้เมืองโบราณถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน ถ้าเดินทางจากกรุงเทพฯ ฝั่งซ้ายจะเป็นเมืองชั้นใน(กรอบสีเขียว) ฝั่งขวาจะเป็นชั้นนอก มีภูเขาเขาเป็นปราการซึ่งเป็นเขตของวัดโคกไม้เดน และผมเชื่อว่า จะเป็นเมืองโบราณที่มีผู้คนเดินทางผ่านมากที่สุด แต่น้อยคนจะรู้ว่าได้เดินทางผ่านดินแดนโบราณที่สืบทอดการอยู่อาศัยมานานนับพันปี เนื่องจากผมมีเวลาค่อนข้างน้อย ผมจึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปยังฝั่งวัดโคกไม้เดน ส่วนอีกฝั่งหนึ่งน่าจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ถ้ามีเวลาภายหลังจะหาโอกาสพาไปชมนะครับ ผมได้ตั้งพิกัดไปยังวัดเขาไม้เดน ซึ่งจะอยู่ทางเข้าด้านข้างศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 ผ่านศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เส้นทางจะผ่านเขาลูกเตี้ยๆไปตลอดทางจนถึงวัดเขาไม้เดน ก็จะเริ่มเห็นร่องรอยของโบราณสถานแล้วครับ ย้อนกลับไปในอดีตที่มีการค้นพบเมืองโบราณแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2506 เกิดจาก ดร.ควอริตช์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้นำภาพถ่ายทางอากาศของทหารอังกฤษและอเมริกัน เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 มาทำการศึกษา จึงเห็นลักษณะทางภูมิประเทศเป็นผังเมืองโบราณ ซึ่งน่าจะค้นพบแหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุมากมายในพื้นที่แถบนี้ จึงได้แจ้งเรื่องและขออนุญาตร่วมสำรวจกับทางกรมศิลปากร ซึ่งขณะนั้นมีนายธนิต อยู่โพธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อทางกรมศิลปากรอนุมัติการสำรวจ จึงได้เริ่มสำรวจครั้งแรกราวเดือนเมษายน พ.ศ.2507 พบโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะในวัฒนธรรมทวารวดี เช่นเดียวกับที่นครปฐม ,เมืองโบราณคูบัว ราชบุรี โบราณสถานพงตึก กาญจนบุรี และ อู่ทอง สุพรรณบุรี และยังพบพระพิมพ์ดินเผา… Read More »

เมืองโบราณพันปีไพศาลี และเมืองเก่าเวสาลี นครสวรรค์

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองเก่าเวสาลี ตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงชัย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ การเดินทางถือว่ามีความสะดวก รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ กลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ได้รับการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 โดยกรมศิลปากร กำหนดอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นไป ความพิเศษของกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้คือ เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณไพศาลี ซึ่งเป็นเมืองโบราณอายุกว่าพันปี ในสมัยทวารวดีอีกด้วย แผนผังการสำรวจเมืองโบราณไพศาลี เมื่อปี พ.ศ.2511 ได้ระบุตำแหน่งของกลุ่มโบราณสถานเมืองเก่าเวสาลี จะตั้งอยู่ทางทิศะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณไพศาลี งานวิจัยการพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนแรกเริ่ม ในเขตอำเภอไพศาลี โดย นฤพล หวังธงชัยเจริญ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่ามีการพัฒนาการของชุมชนมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทวารวดี เช่นเดียวกับเมืองโบราณอื่นๆ ที่ค้นพบในลพบุรีและนครสวรรค์ จากนั้นได้พัฒนาการใช้งานในสมัยอยุธยา จากหลักฐานโบราณสถานในกลุ่มเมืองเก่าเวสาลี เมืองโบราณไพศาลี ในสมัยทวารวดี เดิมมีแผนผังคล้ายสี่เหลี่ยมมุมมน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปัจจุบันถ้าดูแผนที่จาก Google Earth จะยังคงมองเห็นคูคันดิน และคูน้ำล้อมรอบในบางส่วน มีขนาดเมืองยาวประมาณ 700 เมตร กว้าง 500 เมตร เป็นรูปแบบเมืองโบราณทวารวดีที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป และคงมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับเมืองโบราณแถบภาคกลางของไทย ได้แก่ นครสวรรค์ ลพบุรี เพชรบูรณ์ สำหรับเมืองเก่าเวสาลีเป็นพัฒนาการต่อเนื่อง มาถึงสมัยอยุธยา โบราณสถานประกอบไปด้วย โบสถ์ วิหาร มณฑป ปรางค์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐและได้รับการบูรณะแล้ว เมืองเก่าเวสาลีแห่งนี้คงถูกทิ้งร้างในช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา จึงมีการบูรณะและสร้างกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ขึ้น ปัจจุบันตัวเมืองโบราณถูกปรับสภาพและผ่านกาลเวลามานานนับพันปี จึงไม่พบซากโบราณสถานใดๆ เราจึงได้ท่องเที่ยวเพียงกลุ่มโบราณสถานเมืองเก่าเวสาลี ที่มีอายุอยู่ในสมัยอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณเท่านั้น  สุดท้ายนี้ขอขอบคุณการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ… Read More »

เมืองโบราณบ้านคูเมือง สิงห์บุรี จากเมืองโบราณพันปีสู่สวนรุกขชาติ

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังเมืองโบราณทวารวดีอีกแห่งหนึ่งในภาคกลาง นั่นก็คือ “เมืองโบราณบ้านคูเมือง” สิงห์บุรี ปัจจุบันพื้นที่ได้ถูกจัดสรรเป็นสวนรุกขชาติคูเมือง เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เมืองโบราณแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน และยังปรากฏคูน้ำคันดินล้อมรอบอย่างชัดเจน ภายในเมืองโบราณมีขนาดกว้าง 650 เมตร ยาว 750 เมตร สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันออก และแม่น้ำน้อยทางทิศตะวันตก และมีลำน้ำเครือข่ายอยู่โดยรอบ การขุดสำรวจภายในคูเมืองไม่หลงเหลือซากของโบราณสถาน  แต่พบหลักฐานทางโบราณวัตถุและร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ หลังการสำรวจ จึงได้จัดสรรพื้นที่ให้เป็นสวนรุกขชาติ เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชและเป็นแหล่งโบราณคดี การขุดสำรวจทางโบราณคดี ตั้งแต่ปี 2511-2526 พบโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา อาทิ ธรรมจักร พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา แวดินเผา ลูกปัด เป็นต้น คุณภัทราวดี ดีสมโชค นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 พบหลักฐานทางโบราณคดี เป็นโครงกระดูกเด็ก โครงกระดูกสัตว์ เครื่องประดับลูกปัดต่างๆ เครื่องปั้นดินเผาและ เศษภาชนะดินเผาที่มีอักษรปัลลวะ การหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ จากโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ด้วยวิธีคาร์บอน 14 พบว่ามีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 ในส่วนโบราณวัตถุที่พบ จะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่… Read More »

“พงตึก” ชุมชนการค้าโบราณพันปี กาญจนบุรี

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปยังโบราณสถานพงตึก ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สถานที่แห่งนี้เคยเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มานานนับพันปี มาตั้งแต่สมัยทวารวดี พบหลักฐานทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู จากการศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า พื้นที่แถบนี้ จะเป็นชุมชนโบราณเชื่อมเส้นทางการค้าจากดินแดนฝั่งตะวันตก เชื่อมต่อกับเมืองโบราณอื่นๆ อาทิ เมืองคูบัว นครปฐม กำแพงแสน เมืองสิงห์ เมืองอู่ทอง เป็นต้น ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ ได้เข้ามาสำรวจโบราณสถานพงตึก เมื่อปี พ.ศ.2470 ได้พบพระพุทธรูป พระพิมพ์จำนวนหลายองค์ ซึ่งมีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ปัจจุบันมีโบราณสถาน 2 แห่ง ที่ได้รับการสำรวจอย่างเป็นทางการ แห่งที่ 1 มีลักษณะเป็นฐานศิลาแลงของอาคารมีบันไดทางขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นฐานของวิหาร ในช่วงแรก ที่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ เข้าสำรวจ พบหลักฐานโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ และพบโบราณวัตถุชิ้นเก่าแก่ คือ ตะเกียงแบบกรีก โรมัน ที่มีความเก่าแก่ถึง พุทธศตวรรษที่ 6 ตะเกียงกรีก-โรมัน ทำจากสำริด อายุกว่า 1,900 ปี พบที่โบราณสถานพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ที่ฝาตะเกียงเป็นลายใบหน้าของเทพเจ้าซิเลนุส (Silenus) ด้ามจับเป็นลายปาล์มและปลาโลมา 2 ตัว เชื่อกันว่าผลิตขึ้นในช่วงราชวงศ์ปโตเลมี แห่งอเล็กซานเดรีย อียิปต์ นักโบราณคดีประเมินอายุอาจเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 หรือมีอายุมากกว่า 1,900 ปี… Read More »