วัดกันมาตุยาราม วัดเก่า จิตรกรรมงดงาม ย่านเยาวราช กรุงเทพฯ

ก่อนหน้านี้ผมได้พาไปท่องเที่ยวที่วัดคณิกาผล กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวัดที่ยายแฟง นักธุรกิจด้านโสเภณีในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้สร้าง ซึ่งในสมัยนั้นการประกอบอาชีพด้านโสเภณีเป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฏหมาย สำหรับวันนี้ผมจะพาไปเที่ยววัดกันมาตุยาราม ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน และมีความเกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจโสเภณีเช่นกัน เพราะเป็นวัดที่ลูกสาวของยายแฟงเป็นผู้สร้าง นั่นก็คือ นางกลีบ สาครวาสี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2407 ต่อมาบุตรของนางกลีบ คือ พระดรุณรักษา (กัน สาครวาสี) ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว นางกลีบ ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดกันมาตุยาราม” อันหมายถึง “วัดที่มารดาของนายกันเป็นผู้สร้าง” สิ่งปลูกสร้างสำคัญในวัด ได้แก่ ธัมเมกขสถูปจำลอง อุโบสถภายในมีภาพจิตรกรรมพุทธประวัติ และประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆในจระนำบนผนังอุโบสถ ผมเดินชมตลาดย่านเยาวราช ซึ่งมีความคึกคักอย่างมาก และลัดเลาะเข้าไปในซอยเยาวราช ซอย 8 ซึ่งในอดีตสมัยรัชกาลที่ 3 จะเป็นย่านโสเภณีที่มีชื่อเสียงระดับไฮโซของยายแฟง ทะลุไปถึงวัดกันมาตุยาราม และโชคดีมากที่เป็นจังหวะที่กำลังจะปิดอุโบสถ ผมจึงได้ขออนุญาตเขาไปชม พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อกะไหล่ทอง ประดิษฐานในบุษบกไม้ ปิทอง ประดับกระจก บริเวณฐานบุษบก จำหลักเป็นรูปเทพพนมเรียงรายตลอด ผมมีความประทับใจความงดงามในอุโบสถมากเลยครับ ทั้งองค์พระประธาน และภาพจิตรกรรม ท่านที่สนใจไปเที่ยวชม จะเปิดให้เข้าในช่วงทำวัตรเช้าและเย็น เวลา 09.00 น. และ 17.00 น. เหตุที่ต้องปิดอุโบสถไว้ เพราะบ่อยครั้งจะมีคนไร้บ้านเข้าไปนอนภายในอุโบสถ และสัมผัสจิตรกรรมจนเกิดความเสียหายได้ครับ ยุทธนา ผิวขม… Read More »

วัดคณิกาผล ยายแฟงแม่เล้าโสเภณี บริจาคทรัพย์สร้าง

วัดคณิกาผล ยายแฟงแม่เล้าโสเภณี บริจาคทรัพย์สร้าง – ถ้ากล่าวถึงผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับโสเภณีที่และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย หลายคนต้องกล่าวถึง ยายแฟง ผู้สร้างวัดคณิกาผล แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2376 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3  อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย ได้ให้ทัศนะว่า โรงโสเภณีสมัยก่อน ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย สามารถดำเนินธุรกิจและจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งโรงโสเภณีของยายแฟง เป็นโรงโสเภณีชั้นสูงในสมัยนั้นเลยทีเดียว ปัจจุบันคือบริเวณตรอกเต๊า หรือเยาวราช ซอย 8 ซึ่งห่างจากวัดคณิกาผลไม่ถึง 1 กิโลเมตร ในช่วงบั้นปลายชีวิตของยายแฟง ได้บริจาคที่ดินและบริจาคเงินสร้างวัด แรกเริ่มเรียกกันว่า “วัดใหม่ยายแฟง” จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ลูกหลานยายแฟงได้ร่วมกันบูรณะวัด และขอพระราชทานนามใหม่ ได้ชื่อว่า วัดคณิกาผล ซึ่งคำว่า คณิกา คือหญิงบำเรอหรือโสเภณี แปลรวมคือ วัดที่โสเภณีสร้าง หรือวัดที่เกิดจากผลประโยชน์ของโสเภณี นั่นเอง วัดคณิกาผล ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย การเดินทางที่สะดวกสามารถลงที่สถานี MRT วัดมังกรแล้วเดินเข้าไปเล็กน้อย เมื่อมาถึงประตูวัด ด้านหน้าจะมีศาลาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เหตุที่สร้างเพราะมีตำนานเมื่อครั้งที่สร้างวัดเสร็จ ยายแฟงได้นิมนต์สมเด็จโตเพื่อเทศน์ฉลองวัด สมเด็จโตได้เทศน์ว่า การทำบุญสร้างวัดของยายแฟงอานิสงส์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำบุญ 1 บาท ได้บุญแค่สลึงเฟื้องเท่านั้น สิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัดได้แก่ อุโบสถซึ่งจะมีใบเสมาแบบรัตนโกสินทร์ล้อมรอบ ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย รูปพระพักตร์เป็นศิลปะแบบสุโขทัย ข้างกันเป็นวิหารหลวงพ่อดำ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทาสีทอง รายล้อมด้วยพระพุทธรูปอันดับอีกหลายองค์… Read More »

วัดท่าแคลง จันทบุรี โบสถ์เก่าอายุเกือบ 200 ปี สุดคลาสสิค

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปท่องเที่ยวถึงจันทบุรี เพื่อไปชมความงดงามเก่าแก่ของโบสถ์โบราณอายุเกือบ 200 ปี วัดท่าแคลง ที่มีความเป็นเอกลักษณ์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.สนามไชย อ.นายายอาม จ.จันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดที่ผมเคยทำงานประจำมาก่อน เมื่อราว 10 กว่าปีก่อน แต่ครั้งนั้นยังไม่ได้สนใจเดินทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จึงไม่เคยรู้ว่ามีวัดเก่าแก่สวยงามใกล้บริษัทที่เคยทำงานครั้งนั้น วันนี้ได้มีโอกาสไปถึง อ.นายายอาม จ.จันทบุรี จึงได้ค้นหาข้อมูล พบว่าที่วัดท่าแคลงแห่งนี้ มีความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมโบสถ์เก่าที่ได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตกอยู่ด้วย มีอายุเกือบ 200 ปี และยังคงสภาพเดิมอยู่ในปัจจุบันนี้ วัดท่าแคลง ไม่ปรากฏบันทึกประวัติการสร้างชัดเจน จึงมีการสันนิษฐานอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบสถ์เก่า ซึ่งผมได้อ่านพบวิจัยเรื่อง สถาปัตยกรรมรัชกาลที่ 5 ในมณฑลการปกครองของภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา ได้อธิบายงานวิจัยไว้ว่า โบสถ์เก่าของวัดท่าแคลงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก สันนิษฐานสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 – 5 โดยช่างชาวจีนที่มีภูมิลำเนาในแถบนั้น โบสถ์มีขนาดกว้าง 8.86 เมตร ยาว 15.40 เมตร เป็นอาคารก่ออิฐแบบทรงโรง หลังคาทรงจั่วแบบชั้นลด มุงด้วยกระเบื้องว่าว มีชายคายื่นออกจากผนัง มีประตูทางเข้าด้านหน้าและหลัง ด้านละ 2 บาน ซุ้มประตูทางเข้ามีการตกแต่งด้วยปูนปั้นระบายสี ทำเป็นรูปซุ้มแบบใบโพธิ์ภายในมีการตกแต่งปูนปั้นรูปนกและพันธุ์พฤกษา กรอบประตูปั้นปูนคิ้วเลียบแบบเครื่องไม้ บางส่วนมีการเซาะร่องและระบายสีคราม เหลือง และน้ำตาลตามส่วนต่างๆของซุ้มประตู หน้าต่างโบสถ์เก่ามีด้านละ 3 บาน… Read More »

วัดหมาผี วัดร้างในดงป่าประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร

วัดหมาผี เป็นชื่อสามัญที่เรียกกันมาจากเรื่องราวเล่าขานในอดีต เพราะในเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เดิมนั้นเป็นป่าทึบ มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 1,600 ไร่ และเป็นที่แน่นอนว่า ที่ใดมีโบราณสถาน ที่นั่นย่อมมีการขุดกรุ หาสมบัติ  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมานับศตวรรษ วัดหมาผี ก็เป็นเป้าหมายของนักขุดกรุหาสมับติ เพราะพื้นที่เป็นป่ารกทึบ ง่ายแก่การหลบสายตา อีกทั้งการขุดหาสมบัติ มักจะกระทำกันในเวลากลางคืน เพื่อให้ปลอดผู้คน เมื่อมีการขุดหาสมบัติ เรื่องราวที่ตามมาก็คือ การบอกเล่ากันปากต่อปาก ถึงความอาถรรพ์ของสถานที่ และที่วัดแห่งนี้ ก็เล่ากันว่า ผู้ที่มาขุดหาสมบัติ ได้พบกับเหล่าสุนัขผี เฝ้าวัด มีความดุร้าย มีการหายตัวไปมาไร้ร่องรอย เป็นที่โจษขานถึงความน่ากลัว จนเป็นชื่อเรียกติดปากกันว่า “วัดหมาผี”   รูปแบบการสร้างวัดแห่งนี้ เป็นผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วัสดุการสร้างล้วนเป็นศิลาแลง นอกกำแพงแก้ว เป็นคูน้ำขนาดใหญ่ มีความกว้างประมาณ 8 เมตรอยู่ทั้งสี่ทิศ เป็นลักษณะที่เรียกว่า “อุทกสีมา” ด้านหน้ามีวิหารขนาดใหญ่ ฐานยกสูง มีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ไม่หลงเหลือร่องรอยซากพระพุทธรูปให้เห็น น่าจะสร้างด้วยศิลาแลงเช่นกัน บริเวณข้างฐานชุกชีบนวิหาร พบซากพระพุทธรูปหินทราย 2 องค์ มีขนาดหน้าตักราว 2 ฟุต ด้านหลังวิหาร มีเจดีย์ประธานขนาดใหญ่ บนฐานเขียนสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ฐานเจดีย์มีช่องซุ้มพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ด้านละ 5 องค์ หลงเหลือโกลนพระพุทธรูปศิลาแลงอยู่บางส่วน ด้านหลังเจดีย์ประธาน พบฐานเจดีย์ขนาดเล็ก อาจจะเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดแห่งนี้ วัดหมาผี เป็นวัดขนาดกลางในเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่มีวัดมากกว่า 50… Read More »

โบราณสถานและเจดีย์แบบลาว ลุ่มน้ำป่าสัก วัดพระนอน นครหลวง อยุธยา

วันนี้จะพาไปเที่ยววัดพระนอน อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้มีพื้นที่อยู่ทั้งสองฟากถนน ฝั่งหนึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารโบราณสถานร้าง อีกฟากหนึ่งจะเป็นสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งผมแวะเข้าไปด้วยความบังเอิญ และได้พบกับโบราณสถานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ได้แก่ อาคารร้างรวมถึงซากโบราณวัตถุหลายชิ้น และเจดีย์โบราณแบบลาว เป็นอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงชุมชนลาวที่เข้ามาอาศัยแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักตั้งแต่ครั้งอดีต เจดีย์โบราณซึ่งตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของโบราณสถานร้าง วัดพระนอน เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก จากรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเจดีย์แบบลาว ซึ่งมีความคล้ายกับพระธาตุดำ ในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในสมัยกรุงธนบุรี เกิดความขัดแย้งในอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์คุมกองกำลังไปยึดนครเวียงจันทน์และกวาดต้อนชาวลาวนับหมื่นเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก และในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการยกกองกำลังขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนจนประสบความสำเร็จ และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 ก็มีศึกกับนครเวียงจันทน์และได้กวาดต้อนชาวลาวเข้ามาด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราจึงอาจจะได้พบเห็นอัตลักษณ์รูปแบบสถาปัตยกรรมของลาวในวัดแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่หลายแห่ง เช่น วัดใหญ่เทพนิมิตร เป็นต้น ช่องทางการติดตาม Facebook เพจภารกิจเที่ยววัด – Faiththaistory.com Facebook กลุ่มเที่ยววัดและโบราณสถาน  YouTube Channel FaithThaiStory Instagram TikTok

วัดอุโปสถาราม วัดเก่าแก่ ริมแม่น้ำสะแกกรัง อุทัยธานี

YouTube : FaithThaiStory สวัสดีครับ วันนี้ผมพาทุกท่านไปท่องเที่ยวยังจังหวัดอุทัยธานี เพื่อไปเที่ยวที่วัดอุโปสถาราม ต.สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ ที่มีความสวยงามของโบราณสถานทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมภายในวิหารและอุโบสถ ซึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำสะแกกรังไป ผมจึงได้พบกับบรรยากาศในท้องถิ่นที่มีเสน่ห์ แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่เราจะได้เห็นความสวยงามของวิถีชีวิตในชุมชน ผมเดินผ่านตลาดตอนเช้า มีสินค้ามากมายที่พ่อค้าแม่ค้านำออกมาวางขายจำนวนมาก โดยตลาดจะเปิดขายบนถนนริมแม่น้ำสะแกกรังในเวลาเช้าและเย็นทุกวัน เป็นบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยว ที่มีความสุขจริงๆครับ บรรยากาศตอนเช้าวันนี้ มีผู้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยพอสมควร ผมเดินข้ามแม่น้ำสะแกกรัง ได้เห็นบ้านเรือนบนแพกลางแม่น้ำเรียงยาวเป็นแถว เป็นรูปแบบความเป็นอยู่ที่เราไม่ค่อยได้พบเห็น การได้มาท่องเที่ยวโบราณสถานในท้องถิ่นแห่งนี้เป็นการได้เปิดหูเปิดตามากๆครับ จากประวัติวัดกล่าวว่า วัดอุโปสถาราม สร้างขึ้นราว พ.ศ.2324 วางแผนผังเป็นฐานไพทียกสูง บนฐานตั้งอุโบสถขนานเสมอกับวิหาร โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีเจดีย์ 3 องค์ สร้างเรียงไว้ด้านทิศตะวันตก บริเวณริมแม่น้ำมีมณฑปแปดเหลี่ยม สถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสานแบบตะวันตก มีลวดลายปูนปั้นคล้ายไม้เลื้อยที่กรอบหน้าต่าง และมีพระพุทธรูปปูนสลักนูนสูงอยู่ด้านนอกอาคาร ใช้เป็นที่ไว้ศพและอัฐิพระครูสุนทรมุนี(จัน) อดีตเจ้าคณะจังหวัด เมื่อเดินขึ้นไปบนอุโบสถ จะพบเห็นใบเสมาหินทรายแบบอยุธยารอบอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปห้าองค์ แทนพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้  มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเทพชุมนุมและภาพในพุทธประวัติ เบื้องหลังพระประธานเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าชนะมาร สันนิษฐานว่าเขียนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วิหาร วัดอุโปสถาราม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนหลายองค์ และประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองเก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปี จารึกว่าสร้างในปี พ.ศ.2426 ภาพจิตรกรรมภายในวิหารด้านบนเป็นภาพพระอัครสาวก ด้านล่างลงมาเป็นภาพในพุทธประวัติ, อสุภกรรมฐาน และพระมาลัย รวมถึงภาพวิถีชีวิตของคนสมัยก่อน จากรูปแบบภาพเครื่องแต่งกาย สันนิษฐานกันว่าเป็นแบบนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5… Read More »